สถานการณ์ด้านความยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุดในโลก แต่ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบจึงจำเป็นต้องควบคุมการเติบโตนี้ในระยะยาวโดยคำนึงถึงความจำเป็นทางด้านสิ่งแวดล้อม

ความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตประมาณร้อยละ 20 และมีประชากรรวมคิดเป็นร้อยละ 10 ของโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีการเติบโต ร้อยละ 4.8ในปี พ.ศ. 2564 แม้จะอยู่ในภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ก็ตาม ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่น่าสนใจ เพราะถือว่ามีการเติบโตเร็วที่สุดในโลก

อย่างไรก็ตาม การเติบโตดังกล่าวก็มาพร้อมสัญญาณเตือน การใช้พลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 80 นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2543 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในปีพ.ศ.2583 ภาพรวมบ่งชี้ว่าอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จะสูงขึ้นประมาณร้อยละ 60 ภายในปีพ.ศ.2583

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นี่เป็นการพัฒนาที่ค่อนข้างน่ากังวล เนื่องจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ แหล่งพลังงานสิ้นเปลืองมากเกินไป ในการใช้เป็นแหล่งจ่ายพลังงานหลัก

ประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มมองเห็นภัยคุกคามของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศและการเสื่อมสภาพทางสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจนเนื่องจาก ภัยพิบัติน้ำท่วมในหลายพื้นที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในปี พ.ศ. 2564 หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงทศวรรษถัดไปนี้ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องประสบกับการสูญเสียที่เทียบเท่ากับ 22.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐของค่า GDPอันเป็นผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วม

ความพยายามในการแก้ไขปัญหาด้านความยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศในฐานะภัยคุกคามระดับภูมิภาค ทำให้ชาติสมาชิกของภูมิภาคอาเซียนทั้งหมดที่ได้ลงนามใน ข้อตกลงปารีส ประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้มีเป้าหมายร่วมกันในการเพิ่มแหล่งพลังงานหลัก ของพลังงานหมุนเวียนเป็นร้อยละ 23จากแหล่งพลังงานทั้งหมด ภายในปีพ.ศ. 2568

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้รับผลตอบแทนมหาศาลเมื่อเปลี่ยนไปใช้แนวทางที่ยั่งยืนมากขึ้น เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจมีขนาดมูลค่าสูงสุดถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปีภายในปีพ.ศ. 2572 จากการเติบโตเพื่อความยั่งยืนในอนาคต

มีหลายวิธีในการเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจสีเขียวของภูมิภาคนี้ การเปลี่ยนแปลงจากการใช้พลังงานสิ้นเปลืองมาเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนเป็นความพยายามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ กำหนดความสำคัญของพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อมาทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในแผนพัฒนาล่าสุดโดยเฉพาะโครงการหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์

การปรับปรุงภาคการขนส่งของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และมีบทบาทที่สำคัญเช่นกัน ห่วงโซ่อุปทานระบบดิจิทัลรวมกับระบบอัตโนมัติและระบบวิเคราะห์สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้

การใช้Big Data เพื่อปรับปรุงชุมชนเมืองให้เป็นเมืองสีเขียวและ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตที่ยั่งยืนของภูมิภาค ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความก้าวหน้าที่ดีโดยมีโครงการเมืองอัจฉริยะ ในประเทศสิงคโปร์ ประเทศเวียดนาม และประเทศอินโดนีเซีย

ภาครัฐและภาคเอกชนต้องมุ่งมั่นดำเนินงานในโครงการเหล่านี้ในระยะยาว การผลักดันเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนนี้ เป็นเป้าหมายที่สามารถทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมมือกันเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คนในหลายทศวรรษในอนาคตข้างหน้า

ภูมิภาคอาเซียน

ให้คำมั่นที่จะเพิ่มแหล่งพลังงานหลักของภูมิภาคจากพลังงานหมุนเวียน เป็นร้อยละ 20 ภายในปีพ.ศ. 2568

Hitachi ให้คำมั่นในการสนับสนุนความยั่งยืนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Hitachi เชื่อมั่นในนวัตกรรมเพื่อสังคม เราได้มุ่งมั่นในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตขอผู้คนมาอย่างต่อเนื่องผ่านโซลูชันทางเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม นอกจากนี้เรายังเป็นผู้สนับสนุนหลักของโครงการ United Nations Climate Change Conference (COP26) ในปีพ.ศ.2564อีกด้วย Hitachi เป็นผู้นำในการสนับสนุนและพัฒนาสังคมของภูมิภาคไปสู่สังคมสีเขียว

ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างข้อเสนอของ Hitachi ที่สร้างความแตกต่างในบางประเทศของภูมิภาคนี้

การบริการแบ่งปันยานพาหนะ ในประเทศไทย

การจัดส่งสินค้าในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 35ในปีพ.ศ. 2563 เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของการซื้อขายสินค้าด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์การเติบโตที่รวดเร็วดังกล่าวต้องมาควบคู่กับความพยายามด้านความยั่งยืน เนื่องจากภาคการขนส่งเป็นต้นกำเนิดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากเป็นอันดับสองของประเทศ Hitachi ได้เปิดตัวบริการแบ่งปันยานพาหนะในประเทศไทยเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การนำระบบติดตามแบบทันท่วงทีมาใช้จะช่วยให้บริษัทสามารถระบุตำแหน่งและใช้บริการรถได้เหมาะสมเพื่อลดจำนวนรถบรรทุกที่วิ่งเปล่าบนถนนในประเทศไทยได้ การปรับปรุงระบบการขนส่งนี้ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามสู่เป้าหมายการลดคาร์บอนของ COP26

ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ในประเทศฟิลิปปินส์

Hitachi และบริษัท Manila Electric Co ได้ติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ขนาด 2MW ในเมืองบูลาคาน ระบบแบตเตอรี่เป็นแบบแยกส่วนและเคลื่อนย้ายได้ในตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต ให้ความมั่นคงของแหล่งพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะไม่เสถียรตลอดทั้งวันระบบนี้จะช่วยในการจัดการพลังงานและความต้องการใช้เพื่อ เพิ่มความวางใจของบริการและระบบพลังงาน เพื่อชดเชยต่อพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เสถียรได้

การใช้ระบบวิเคราะห์ Big Dataในประเทศสิงคโปร์

รัฐบาลประเทศสิงคโปร์ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการบรรลุเป้าหมายการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ ซึ่งรวมถึงการลดมลพิษจากการขนส่ง ภาคขนส่งเป็นต้นกำเนิดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมเป็นสัดส่วนสูงสุดถึงร้อยละ 15 ของประเทศ

โครงการ Go-Ahead Singapore ได้พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นจากการปรับใช้ระบบวิเคราะห์ Big data เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน Hitachi เป็นผู้สนับสนุนโครงการ Go-Ahead Singapore ในด้านการวัดและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบรถประจำทางผ่านการพัฒนาและการบำรุงรักษาเว็บพอร์ทัลระบบวิเคราะห์ Big data ที่ปรับได้ตามความต้องการผลที่ได้คือเจ้าหน้าที่จัดการตารางเวลาเดินรถสามารถระบุปัญหาได้อย่างรวดเร็วและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีเมื่อรวมกับข้อมูลการจราจรที่แม่นยำแล้ว ทำให้โครงการ Go Ahead สามารถปรับใช้งานรถประจำทางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยจำนวนรถลดและเวลาการวิ่งรถที่ไม่มีผู้โดยสารของรถประจำทางในย่านถนนที่มีการจราจรหนาแน่นและลดการปล่อยก๊าซไอเสียจากรถได้